วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 3 วิธีดำเนินงาน

บทที่   3
วิธีดำเนินงาน
วิธีดำเนินการ
1.คิดหัวข้อ
2.ศึกษาค้นคว้า
3.ทำโครงร่าง
4.ปฏิบัติตามโครงร่าง
5.นำเสนองานและความคืบหน้าเป็นระยะๆ
6.ประเมินผลงาน
7.นำเสนอผ่านเว็บ
ตารางปฏิบัติงาน
วัน/เดือน/ปี
รายงานการ
                    1   ตุลาคม   56
คิดหัวข้อของโครงงาน
                    3   ตุลาคม   56
รวบรวมข้อมูล
                 15    ตุลาคม   56
เสนอโครงร่างฉบับย่อ
                 20    ตุลาคม   56
           รายงานความคืบหน้าเป็นระยะๆ
                    5   พฤศจิกายน   56
                       ลงมือปฏิบัติงาน
                   15  พฤศจิกายน   56
                     สร้างแบบนำเสนอ
                  31   พฤศจิกายน   56
นำเสนอแบบเว็บบล็อก


อุปกรณ์
กี่    มีขนาดใหญ่ประกอบไปด้วยโครงกี่ฟืม เขาหูกหรือตะกอ ไม้ม้วนผ้าและหลักม้วนผ้า ไม้สำหรับพาดนั่งเวลาคานเหยียบสำหรับดึงเส้นไหมและตะกอขึ้นลง ไม้แกนม้วนไหมเส้นยืน คานแขวน กระสวย หลอดด้ายพุ่ง ผังหรือสะดึงขึงผ้าให้ตึง มักจะวางใต้ถุนเรือน และฝังเสากับพื้นดินแบบถาวร โครงกี่ประกอบด้วยเสา 4 เสา คาน 9 คานบนมี 4 คาน คานล่างมี 1 คาน และคานกลาง 1 คาน มีราวหูกทั้ง 4 ด้าน มีทั้งด้านบนและด้านล่าง
คานแขวน     เป็นไม้ห้อยอยู่กับคานของกี่ ซึ่งคานของทั้งสองใช้แขวนเชือกที่ต่อมาจากเขาหรือตะกอ เพื่อให้ตึงอยู่ตลอดเวลา
ฟืมหรือหวี     คือเครื่องมือสำหรับทอผ้ามีฟันเป็นซี่ๆ คล้ายหวีใช้สำหรับสอดไหมหรือเพื่อจัดเส้นไหมให้อยู่ห่างกัน แล้วใช้กระทบไหมพุ่งที่สานตัดกันกับไหมยืนหรือไหมเครือเป็นผืนผ้า การทอผ้าเนื้อหนาหรือเนื้อบางขึ้นอยู่กับฟันหวี
ตะกอ    ใช้สำหรับแยก เส้นด้ายให้ขึ้นเพื่อเปิด ให้จังหวะของเส้นด้าย พุ่งสอดขัดกัน
ตะกอหลอก     ตะกอแผงหรือเขาใหญ่และเขายาว ใช้เป็นที่เก็บไม้ขิด เพื่อส่งลายให้ทอโดยไม่ต้องเก็บขิด เป็นลักษณะตะกอแนวตั้ง
ไม้ (ไม้กำพัน)     ใช้สำหรับม้วนผ้าที่ทอแล้วไว้อีกส่วน ไม้แกนม้วนผ้านี้จะเหลาเป็นเหลี่ยม จะได้ยึดผ้าที่ม้วนเก็บไว้ไม่ให้ลื่น
ไม้    คือไม้สอดแทนไม้ขิดเพื่อให้ตะกอเปิดกว้าง และสอดเส้นด้ายยืนพุ่งไปไม้ ขิด ใช้สำหรับคัด
กระสวยด้ายพุ่ง      คือเครื่องมือที่ใช้กรอด้ายสำหรับทอผ้า นิยมทำจากเถาวัลย์เครือไส้ตันที่มีตรงกลางกลวง หรือไม้อย่างอื่นเจาะรูตรงกลางเพื่อสอดไม้เล็กๆ ที่ทำเป็นแกนของหลอดด้าย เพื่อให้ด้ายหมุนไปตามแรงพุ่งของกระสวย

ไม้เหยียบหรือคานเหยียบ     คือไม้ไผ่ 2 อันที่ผูกเชื่อมโยงกับเขาผูกหรือตะกอ เพื่อใช้สำหรับเหยียบดึงเขาหูกทั้ง 2 อัน ให้เส้นไหมยืนขึ้นลงสลับกัน และเปิดช่องเพื่อพุ่งกระสวยไหมเข้าไปในร่องดังกล่าว เส้นไหมทั้ง 2 ชนิดจะสานขัดกันเป็นเนื้อผ้า
ไม้นั่งทอผ้า     คือไม้กระดานหนาพอสมควร และมีความยาวกว่ากี่เล็กน้อย ใช้เวลานั่งทอผ้า ไม้นี้จะใช้พาดระหว่างหลักกี่
ข้างหน้ากับหลักม้วนผ้า
บ่ากี่     คือ ไม้ที่รองรับส่วนปลาย 2 ด้านของไม้ม้วนผ้า มี 2 หลัก แต่ละหลักจะอยู่คนละข้างของหูก
กระสวย     ใช้บรรจุหลอดไหมพุ่งสอดไประหว่างช่องว่างของเส้นไหมยืน ต้นและปลายเรียวตรงกลางเจาะเป็นช่องสำหรับใส่หลอดด้าย
ผัง     เป็นไม้ที่ขึงไว้ตามความกว้างของผ้าที่ทอ เพื่อให้หน้าผ้าตึงพอดีกับฟืม และเพื่อทำให้ลายผ้าตรง ไม่คดไปคดมา
·          
·      อุปกรณ์ในการทอผ้าไหม
กง
 
อัก
ไน
หลอด
กระสวย
กรรไกร
หวี
กี่ทอผ้า
ไม้เหยียบทอผ้า

1. กง เป็นเครื่องมือสำหรับใส่ไหมที่เป็นปอย (ไน) แล้วนำไปกรอใส่ใน
2. อัก ใช้คู่กับกงจะรับเส้นไหมจากกงมาใส่ไว้ใน
3. หลาไน หรือเครื่องกรอหลอด
4. หลอดกรอไหม ใช้สำหรับใส่เส้นไหม
5. ฮัง (ที่เสียบหลอด) เป็นที่เก็บหลอดกรอไหม
6. ก้านสวย (กระสวย) ใช้คู่กับหลอด
7. กี่ทอผ้า หรือกี่กระตุก เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับทอผ้าให้เป็นผืนสำเร็จออกมา
8. ฟืม (ฟันหวี) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับแยกเส้นไหมยืนให้ออกจากกัน
9. ตะกอ ทำจากเส้นด้ายป่าน ที่มีความแข็งแรง เหนียวแน่น ทำหน้าที่ยกเส้นไหมให้ขึ้นลง
10. กรรไกร ใช้สำหรับตัดตกแต่งผ้าไหม
11. ผัง ใช้สำหรับตึงริมผ้าให้เสมอกัน มีลักษณะเป็นไม้ยาวเท่ากับความกว้างของผ้า
 วัตถุดิบและส่วนประกอบ
เส้นไหม
สีย้อมไหม

ด่างฟอก
สบู่เทียม
ฟางใช้มัดหมี่

เส้นไหม ได้จากตัวหม่อน การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม มีมาตั้งแต่โบราณนับเป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่งของคนโบราณที่สืบทอดกันมายาวนาน
        วัตถุดิบเส้นไหมทางพุ่ง ซื้อจาก บริษัทจุลไหมไทย จ.เพชรบูรณ์ เส้นไหมทางยืนไปซื้อที่อำเภอชนบทจังหวัดขอนแก่น สีย้อมไหม ด่างล้างผงมัน ด่างฟอกฟาง ซื้อจากอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น และส่วนของแรงงานทั้งหมดมาจากชุมชนพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และแบ่งงานกันทำโดยในส่วนของ การมัดย้อม การทอการตัดเย็บ และในส่วนของการตลาดรายได้จากการจำหน่ายก็จะจัดสรรตามระเบียบของกลุ่มต่อไป
 วัตถุดิบ
1. เส้นไหม                     2. น้ำยาล้างไหม                                3. สีย้อมไหม                       4. ด่างฟอก
5. สบู่เทียม                       6. ฟางใช้มัดหมี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น