บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ประวัติของผ้าไหม
ผ้าไหมมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและประเทศอินเดีย
การทอผ้าไหมมีขึ้นราว 2,640 ปี ก่อนคริสตกาล
พ่อค้าชาวจีนได้เผยแพร่ผ้าไหมสู่พื้นที่อื่นในแถบเอเชีย
สำหรับประเทศไทยนักโบราณคดีพบหลักฐานที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงซึ่งบ่งชี้ว่ามีการใช้ผ้าไหมเมื่อ
3,000 ปีก่อน การทอผ้าไหมในประเทศไทยในอดีตมีการทำกันในครัวเรือนเพื่อใช้เอง
หรือทำขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธี เช่น งานบุญ งานแต่งงาน
ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
ได้ส่งเสริมให้ใช้ผ้าไหม
ส่วนการปลูกหม่อนเพื่อเลี้ยงไหมได้รับการสนับสนุนจากประเทศญี่ปุ่น
แต่การดำเนินงานของโครงการก็ทำได้เพียงระยะหนึ่งมีอันต้องหยุดไป
เนื่องจากเกษตรกรไทยยังคงทำในลักษณะแบบเดิมเพราะความเคยชิน
ไม่ตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่แบบใหม่ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากความช่วยเหลือของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของผ้าไหมไทยขึ้น โดย เจมส์ แฮร์ริสัน วิสสัน
ทอมป์สัน ชาวสหรัฐอเมริกาหรือที่คนไทยรู้จักในนามว่า จิม ทอมป์สัน
ซึ่งเป็นผู้ที่ให้ความสนใจผลงานด้านศิลปะ ในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
รวมทั้งลาว และเขมร จิม ทอมป์สัน ได้ซื้อผ้าไหมไทยลวดลายต่างๆ เก็บสะสมไว้
และทำการศึกษาลวดลายผ้าไหมในหมู่บ้านที่เป็นแหล่งการผลิตผ้าไหม
พร้อมกับเสาะแสวงหาช่างทอผ้าไหมฝีมือดี
ในที่สุดได้พบช่างมีฝีมือถูกใจที่กรุงเทพมหานคร บริเวณชุมชนบ้านครัว
(หลังโรงแรมเอเชีย
เขตราชเทวีในปัจจุบัน)ชุมชนแห่งนี้เดิมเป็นชาวมุสลิมเชื้อสายเขมร
อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ตั้งแต่ตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีความชำนาญในการทอผ้าไหม ซึ่ง
จิม ทอมป์สัน ได้เข้ามาสนับสนุนให้ชาวบ้านในชุมชนทอผ้าไหม
สามารถสร้างรายให้ชาวบ้านมากขึ้น
หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงผ้าไหมไทยโดยใช้หลักการตลาด การผลิต เพื่อขยายตลาด
และทำการบุกเบิกผ้าไหมของไทยไปสู่ตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา
และแพร่เข้าสู่วงการภาพยนตร์ของชาติตะวันตก และ ละครบรอดเวย์ในปี พ.ศ. 2502
นักออกแบบชาวฝรั่งเศสได้ใช้ผ้าไหมไทยทำการออกแบบและตัดเย็บฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ ครั้งเสด็จเยือนประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ ถือได้ว่าเป็นการเปิดโอกาสผ้าไหมของไทยสู่ตลาดต่างประเทศ
ผ้าไหมไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมการแต่งกายที่สืบสานกันมากว่า
3,000 ปีมาแล้วโดยมีแหล่งสำคัญอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และได้ขยายไปยังภาคเหนือตอนบน
จนปัจจุบันได้แพร่กระจายไปทุกภูมิภาคของประเทศซึ่งมีความแตกต่างกันในลวดลายตามเชิงความคิดและวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงฟื้นฟูไหมไทย วัสดุธรรมชาติที่ทรงคุณค่าทางเศรษฐกิจ คงไม่มีสิ่งใดเทียบเท่าเส้นใยไหมที่ทำให้ได้สิ่งทอที่สวยงาม ดังเช่นผ้าไหมไทยที่มีความงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนมีชื่อเสียงลือไปทั่วโลก การผลิตไหมในประเทศไทยได้เริ่มพัฒนาขึ้น เมื่อรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นยุคแห่งการฟื้นฟูส่งเสริมและพัฒนาการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม สาวไหม และทอผ้าไหม จนปัจจุบันการผลิตไหมในประเทศไทยเป็นการสร้างอาชีพ และรายได้ให้กับประชากร
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงฟื้นฟูไหมไทย วัสดุธรรมชาติที่ทรงคุณค่าทางเศรษฐกิจ คงไม่มีสิ่งใดเทียบเท่าเส้นใยไหมที่ทำให้ได้สิ่งทอที่สวยงาม ดังเช่นผ้าไหมไทยที่มีความงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนมีชื่อเสียงลือไปทั่วโลก การผลิตไหมในประเทศไทยได้เริ่มพัฒนาขึ้น เมื่อรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นยุคแห่งการฟื้นฟูส่งเสริมและพัฒนาการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม สาวไหม และทอผ้าไหม จนปัจจุบันการผลิตไหมในประเทศไทยเป็นการสร้างอาชีพ และรายได้ให้กับประชากร
การเลี้ยงไหมและทอผ้าในภาคอีสาน จากสารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตฯ กล่าวว่า
สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2360 ปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
รัชกาลที่ 2 ขุนนางชาวเวียงจันทน์ชื่อนายแลเป็นหัวหน้านำชาวลาวข้ามโขงมาตั้งหลักแหล่งที่บ้านเนินอ้อม
(เมืองชัยภูมิ) นายแลและพวกมี ความชำนาญในการเลี้ยงไหม สาวไหม และทอผ้าไหม
ต่อมาได้เอาใจออกห่างจากนครเวียงจันทน์และหันมาสวามิภักดิ์ต่อไทยในสมัยพระบาท
สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) นายแลได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองชัยภูมิแต่ได้ถึงแก่กรรมก่อนจะสร้างเมืองเสร็จ
ชาวเมืองจึงปลูก ศาลขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นายแลผู้บุกเบิกสิ่งทอไทย
ศาลนี้มีชื่อว่า "ศาลเจ้าพ่อพระยาแล” จึงเป็นที่เข้าใจว่าการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้า
ไหมได้แพร่หลายไปทั่วภาคอีสานของไทย ตั้งแต่นั้นมา
ในสภาพสังคมเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม
หน้าที่ของสตรีชาวอีสานแสดงให้เห็นวิถีชีวิตและโลกทัศน์ของหญิงกล่าวคือ
ผู้หญิงต้องเรียนรู้ และฝึกหัดการทอผ้ามาตั้งแต่เด็ก พัฒนาฝีมือความสามารถในวัยสาว
เพื่อ เตรียมพร้อมสำหรับพิธีแต่งงานตามค่านิยมของคนอีสาน จนวัยผู้ใหญ่มีครอบ ครัว
และวัยชราก็กลายมาเป็นผู้ถ่ายทอดทักษะฝีมือ รวมทั้งการอบรมสั่งสอน
การทอผ้าให้กับลูกหลาน ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมนั้นมีมา
ตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 2 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2444 ในสมัยรัชกาลที่ 5 จึง
มีแนวคิดที่จะส่งเสริมการเลี้ยงไหมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทอผ้าไหม ส่งเป็นสินค้าออก
และอาจกล่าวได้ว่า งานพัฒนาการเกษตรอย่างมีวิชาการเริ่ม ต้นด้วย กรมช่างไหม
ซึ่งตั้งขึ้นในกระทรวงเกษตรราธิการ
สำหรับประวัติผ้าไหมที่มีหลักฐาน
และมีการค้นพบที่เก่าแก่ที่สุด คือ พบที่ประเทศจีน ประมาณ 4,700 กว่าปีที่แล้ว โดยมีหลักฐานที่สามารถอ้างถึงได้
อาทิ หนังสือจีนโบราณชื่อ ไคเภ็ก ที่กล่าวถึงพระนางง่วนฮุย
พระมเหสีของพระเจ้าอึ้งตี่
ที่เป็นผู้ริเริ่มการทอผ้าไหมจากหนอนไหมที่พระองค์สังเกตเห็นโดยบังเอิญ
และได้เผยแพร่ไปสู่เขตต่างๆ รวมไปถึงอาณาจักรใกล้เคียง
สำหรับประเทศไทย พบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการทอผ้าไหมที่เก่าแก่ที่สุดประมาณ
3,000 กว่าปีที่แล้ว โดยพบเศษผ้าไหมของวัฒนธรรมบ้านเชียง ณ บ้านนาดี อำเภอหนองหาญ
จังหวัดอุดร และบริเวณพื้นที่อื่นๆในภาคอีสานซึ่งจากการสันนิษฐาน พบว่า
มีการเลี้ยง และการทอผ้าไหมเป็นเครื่องนุ่งหุ่มกระจายทั่วไปในแถบภาคอีสาน
และสายพันธุ์ไหมที่ใช้เป็นสายพันธุ์พื้นเมืองที่มีการฟักตัวได้ตลอดทั้งปี
มีลักษณะรูปร่างเรียวเล็กสีเหลือง ในส่วนภาคอื่นๆ
ของประเทศมีหลักฐานตรวจพบถึงการทอผ้าไหมเป็นเครื่องนุ่งห่มปรากฏตามจารึกของพงศาวดารต่างๆ
จนถึงสมัยอยุธยา กรุงธนบุรี ถึงรัชสมัยปัจจุบัน
ในสมัยราชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5 (พ.ศ 2411-2453) ถือเป็นยุคแรกของการส่งเสริมปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
และการทอผ้าไหมของไทยซึ่งถือได้ว่าเป็นอาชีพรองจากการทำนาเลยทีเดียว
บริเวณพื้นที่อีสานถือเป็นพื้นที่ที่มีการเลี้ยงหม่อนไหม และทอผ้าไหมมากที่สุด
โดยสมัยนั้นเทคโนโลยีเกี่ยวกับผ้าไหมยังไม่เจริญก้าวหน้า
ชาวบ้านยังทำได้เป็นเส้นไหมหยาบใช้เป็นเส้นพุงได้อย่างเดียว
ส่วนไหมเส้นยืนต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ และต่อมา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงก่อตั้งกรมช่างไหม และโรงเรียนสอนเกี่ยวกับการปลูก
และการทอผ้าไหมโดยเฉพาะร่วมกับผู้เชี่ยวชาญประเทศญี่ปุ่น
จนทำให้เกิดการพัฒนาวิทยาการการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
และเทคโนโลยีการทอผ้าไหมมากยิ่งขึ้น อาทิ การใช้เครื่องทอผ้าไหมแทนมือ เป็นต้น
แต่หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสิ้นพระชนลง
การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และการทอผ้าไหมก็ซบเซาลงจนกระทั่ง พ.ศ. 2479
จึงมีการกลับมาส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอีกครั้ง
โดยมีการจัดตั้งหน่วยงานส่งเสริม และพัฒนาตามจังหวัดหลักๆที่มีทอผ้าไหมกันมาก
ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น จังหวัดหนองคาย เป็นต้น พร้อมกันกับ พ.ศ.
2491 มีนักลงทุนชาวอเมริกัน จิม ทอมสัน จัดตั้งบริษัท จิมทอมสันไหมไทย จำกัด
ทำให้การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และการทอผ้าไหมของไทยพัฒนามาเป็นแบบอุตสาหกรรม
และธุรกิจมากขึ้น โดยการส่งจำหน่ายที่ประเทศอเมริกา และประเทศอื่นๆ
จนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน
ลักษณะผ้าไหม
ผ้าไหมไทยมีรูปแบบการทอและลวดลายที่แตกต่างกันตามวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในแต่ละท้องถิ่น
ผ้าไหมที่เป็นที่รู้จักและนิ่มใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่
ผ้าไหมพื้น เป็นผ้าไหมที่ทอลายขัดโดยใช่เส้นยืนและเส้นพุ่งธรรมดาสีเดียวตลอดทั้งผืน
หรืออาจใช้เส้นยืนและเส้นพุ่งต่างสีกัน ซึ่งทำให้ได้สีที่งดงามอีกแบบหนึ่ง
ผ้าไหมจก เป็นการทอผ้าที่เพิ่มลวดลายโดยเพิ่มเส้นพุ่งพิเศษเข้าไปเป็นช่วงๆ
สลับสีสันลวดลายต่างๆ กันลักษณะผ้าจะมีสีสันและลวดลายคล้ายกับการปักลางลงบนผืนผ้า
ผ้าไหมมัดหมี่ เป็นผ้าไหมที่ทำให้เกิดลวดลายด้วยวิธีการมัดเส้นไหมให้เป็นลวดลายที่เส้นพุ่งหรือเส้นยืน
หรือทั้งสองเส้น
แล้วนำไปย้อมสีทีละชั้นตอนตามลวดลายที่มัดไว้เพื่อให้ได้สีและลวดลายตามความต้องการ
แล้วจึงนำเส้นไหมที่มัดมาทอให้ผืนผ้าเกิดลวดลายตามที่มัดไว้ แหล่งผลิตส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสาน
เช่น ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และร้อยเอ็ด
ผ้าไหมขิด เป็นผ้าไหมแบบทอยกลายในตัวเรียกว่า "เก็บขิด"
เป็นการยกเส้นยืนแต่ละแถว
ให้เส้นพุ่งพิเศษสอดผ่านจากริมผ้าด้านหนึ่งไปสู่ริมผ้าอีกด้านหนึ่งเกิดเป็นลวดลายขิด
ผ้าทอลายขิด สังเกตดูจากลายซ้ำของเส้นพุ่งที่ขึ้นเป็นแนวสีเดียวกันตลอด
เป็นที่นิยมทอทั่วไปในภาคอีสานบางจังหวัด ในภาคกลางและภาคเหนือ
ผ้าไหมแพรวา เป็นผ้าทอที่มีลักษณะลวดลายผสมกันระหว่างขิดและจกบนผืนผาเดียวกัน
คำว่า"แพรวา" มาจากความยาวของผ้าที่ยาวประมาณ 1 วา (2เมตร) แต่ดั้งเดิมเป็นผ้าที่ใช้ในงานพิธีต่างๆ
ตามวัฒนธรรมของชาวภูไท โดยเอกลักษณ์ดั้งเดิมจะมีสีแดงเป็นพื้น
ซึ่งต่อมาได้มีการดัดแปลงลักษณะของผืนผ้าและการใช้สีสันเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นตามสมัยนิยม
แหล่งผลิตใหญ่และมีชื่อเสียงอยู่ที่จังหวัดกาฬสินธุ์
ผ้าไหมยกดอก เป็นผ้าทอที่ยกเส้นยืนเพื่อสอดเส้นพุ่งที่เป็นไหมสีอื่น
เพื่อทำให้เกิดลวดลายขึ้นหรืออาจใช้ดิ้นเงินดิ้นทองก็ได้
บางแห่งหรือบางครั้งอาจเรียกว่าผ้ายกเท่านั้นการทอผ้าไหมยกดอกนิยมทอกัรมากในภาคเหนือ
ที่จังหวัดลำพูน เชียงใหม่ แพร่ อุตรดิตถ์ และที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ผ้ายกดอกลำพูน
ในภาคอีสาน ที่จังหวัดสุรินทร์ และภาคใต้ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คุณลักษณะพิเศษของผ้าไทย
เอกลักษณ์ของชาติไทย
จะถูกถ่ายทอดให้ปรากฏเป็นลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายไทย ดอกไม้รูปทรงเรขาคณิต รูปสัตว์
สัญลักษณ์ประจำท้องถิ่น เป็นต้น ลงบนผืนผ้า โดยฝีมือและภูมิปัญญาของชาวบ้าน
ลวดลายดังกล่าวละเอียดอ่อน สวยงาม อ่อนช้อย ผู้สวมใส่รู้สึกสบาย สง่างาม มีเสน่ห์
ปัจจัยสำคัญอีกข้อหนึ่งที่ทำให้ผ้าไทยได้รับความนิยมคือ
คุณสมบัติพิเศษเฉพาะของเส้นใยแต่ละชนิดที่ใช้ทอผ้าดังต่อไปนี้
ผ้าไหม ทำจากเส้นใยธรรมชาติที่ได้จากสัตว์จำพวกหนอนไหมโดยคายเส้นใยออกมาทางปากมีความยาวต่อเนื่อง
เมื่อนำมาทอเป็นผืนผ้าทำให้อ่อนนุ่ม เป็นมัน เหนียว ยืดหยุ่นตัวดี ดูดซับความชื้น
ย้อมสีง่ายและสวมใส่สบายเนื่องจากมีความชื้นในตัวเอง (Moisture Regain) สูงประมาณร้อยละ 11
แต่มีข้อจำกัดคือเส้นใยไหมเสื่อมคุณภาพง่าย เมื่อถูกความร้อนสูงจากเตารีด แสงแดด
แมลงชอบกัดกินเส้นไหมเพราะเป็นเส้นใยโปรตีน
สีที่ย้อมจะเสื่อมคุณภาพเมื่อถูกความชื้นมากเกินไป
ดังนั้นควรเก็บรักษาไว้ในที่แห้ง
ผ้าฝ้าย ทำจากเส้นใยธรรมชาติที่ได้จากดอกของต้นฝ้าย
เมื่อนำมาทอผ้าจะดูดซับความชื้นได้ดี ย้อมสีและพิมพ์ลวดลายง่าย
สวมใส่สบายมีความชื้นประมาณร้อยละ 11 ระบายความร้อนได้ดี
ผ้าฝ้ายที่ผ่านการตกแต่งด้วยเทคนิควิธีการผ่านไอน้ำหรือให้ความร้อน
และใช้สารเคมีทำให้ผิวสัมผัส ราบเรียบ เป็นมัน คงทนต่อการเสียดสี ทนยับ
แต่ถ้าไม่ได้ผ่านการตกแต่งส่งผลให้การยืดหยุ่นตัวน้อยลง ยับง่าย
ความแข็งแรงหรือความเหนียวต่ำ ไม่ทนเชื้อราและแสงแดด
ข้อจำกัดของผ้าฝ้ายจะเสื่อมคุณภาพง่าย เมื่อถูกความร้อนสูงจากเตารีด หรือแสงแดด
ทำให้สีที่ย้อมจางลง
ควรเก็บรักษาในที่แห้งไม่ควรให้มีความชื้นซึ่งอาจทำให้เกิดเชื้อราบนผืนผ้า
ผ้าลินิน (Linen) ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้เป็นผ้าที่ทำจากลำต้นแฟลกซ์ (Flax) ดังนั้นจึงมีชื่อเรียกแตกต่าง
กันไปอยู่ในรูปของเส้นใยมักเรียกว่าใยแฟลกซ์
เส้นด้ายเรียกว่า ด้ายแฟลกซ์ ส่วนผ้าต้องเรียกว่าลินินจึงจะถูกต้อง
คุณลักษณะพิเศษของผ้าชนิดนี้ทำให้สวมใส่สบายเนื่องจากมีความชื้นสูงประมาณร้อยละ
11-12 เหนียว ระบายความร้อนได้ดี ย้อมสีติดง่าย แต่มีข้อจำกัดคือยับง่าย
ความยืดหยุ่นตัวน้อย เส้นใยแข็งกระด้าง
ผ้าไหมเทียม ส่วนใหญ่ทำจากเส้นใยคิวปราโมเนียมเรยอน (Cuprammonium Rayon) ถูกจัดให้อยู่ในประเภทเส้นใยกึ่งสังเคราะห์รีเจนเนอเรตเตดเซลลูโลส
(Regenerated Cellulose) มีคุณสมบัติคล้ายเส้นใยไหมมากที่สุด
จังมักเรียกกันว่าไหมเทียม ความเหนียวสูงมากเมื่อเส้นใยแห้งสนิท
และความเหนียวจะลดลงเมื่อเปียกน้ำ ดูดซับความชื้นได้ดี เงางาม
ย้อมสีและทำลวดลายได้ง่ายความชื้นในตัวสูงถึงร้อยละ 13 สวมใส่สบาย ยืดหยุ่นตัวดี
ทนด่าง แต่มีข้อจำกัดคือเมื่อถูกรังสีความร้อนจากแสงแดดหรือเตารีดความเหนียวจะลดลง
เกิดเชื้อราง่ายเมื่อเปียกน้ำ ควรเก็บรักษาในที่แห้ง
ผ้าใยผสม การนำเส้นใยผสมมาทอผ้าไทย
เกิดขึ้นจากแนวคิดที่ว่าเส้นใยที่มีอยู่ในธรรมชาตินับวันจะเหลือน้อยลง
จำเป็นต้องนำเส้นใยสังเคราะห์มาใช้ทดแทนและที่สำคัญที่สุดคือไม่มีเส้นใยชนิดใดมีคุณสมบัติทุกประการดีเลิศ
แต่ละชนิดย่อมมีจุดเด่นและด้อยในตัวเอง
การนำมาผสมกันเพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้ดีขึ้นโดยทั่วไปมักใช้เส้นใยผสมพอลิเอสเตอร์ (Polyester) กับฝ้าย (Cotton) มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่าผ้า
P/C พอลิเอสเตอร์กับ เรยอน (Rayon) เรียกว่าผ้า
P/R และ เรยอนกับฝ้ายเรียกว่า ผ้า R/C เป็นต้น
ผ้าผสมเหล่านี้ช่วยให้ผู้สวมใส่สบาย แข็งแรง ทนยับ คงรูป
ดูดซับและคายความชื้นได้ดี ย้อมสีหรือพิมพ์ลวดลายได้ง่าย ยืดหยุ่นตัวดี
เส้นใยพอลิเอสเตอร์มีความชื้นร้อยละ 0.5
การทอผ้าพื้น เป็นการใช้หลักการทอผ้าเบื้องต้น
ที่นำเอาด้ายเส้นยืนและด้ายเส้นพุ่งมาขัดกัน เพื่อให้เกิดเป็นผืนผ้า โดยด้ายเส้น
พุ่งและเส้นยืนอาจเป็นด้ายสีเดียวกัน หรือต่างสีกัน
หรือนำเอาเส้นด้ายที่เป็นดิ้นเงินหรือดิ้นทองมาทอควบด้าย เพื่อให้ผ้า มีความมันระยับ
สวยงามยิ่งขึ้น
เทคนิคพิเศษที่ใช้ในการทอผ้า
การขิด ขิด หมายถึง กรรมวิธีในการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ ขึ้นมา
โดยวิธีการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษในระหว่างการ ทอ
เพื่อให้เกิดลวดลายที่โดดเด่นกว่าสีพื้น วิธีการทำคือ ใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิด
เพื่อช้อนเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่ง ไปตามแนวที่ถูกจัดช้อน
จังหวะการสอดเส้นด้ายพุ่งนี่เอง ที่ทำให้เกิดเป็นลวดลายต่าง ๆ
การจก เป็นเทคนิคการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ
โดยเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษสอดขึ้นลง วิธีการคือ ใช้ขนเม่น ไม้ หรือนิ้ว
สอดเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่งพิเศษเข้าไป
ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นลวดลายเป็นช่วง ๆ สามารถทำสลับสีลวดลายได้หลากสี
ซึ่งจะแตกต่างจากการขิดตรงที่ขิดที่เป็นการใช้เส้นด้ายพุ่งพิเศษเพียงสีเดียว
การทอผ้าวิธีจกใช้เวลานานมากมักทำ เป็นผืนผ้าหน้าแคบใช้ต่อกับตัวซิ่น เรียกว่า “ ซิ่นตีนจก ”
การทอมัดหมี่ ผ้ามัดหมี่มีกรรมวิธีการทอผ้าที่ใช้เทคนิคการมัดและการย้อม
เริ่มจากนำเส้นด้ายหรือไหมมาย้อมสีแล้วมัดบริเวณที่ ต้องการเก็บไว้
เมื่อนำไปย้อมสีอื่นจะได้ไม่ติดสี เพียงซึมเข้ามาบางส่วน
โดยย้อมเรียงลำดับจากสีอ่อนไปหาสีเข้มจนครบ ตามลวดลายที่กำหนด
หลังจากนั้นจึงนำด้ายกรอเข้าหลอดตามลำดับ
แล้วนำไปทอจะเกิดลวดลายบนผืนผ้าที่มีลักษณะคลาดเคลื่อนเหลื่อมล้ำ
อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
ของมัดหมี่
การทอผ้าชนิดนี้จึงต้องอาศัยความชำนาญในการมัดย้อมและทอเป็นอย่างมาก
ผ้ามัดหมี่มีอยู่หลายชนิด ได้แก่
1. มัดหมี่เส้นพุ่ง
2. มัดหมี่เส้นยืน
3. มัดหมี่เส้นพุ่งและเส้นยืน
การทอผ้ายก เป็นกรรมวิธีการทอให้เกิดลวดลายโดยการยกตะกอแยกด้ายเส้นยืน
และในบางครั้งการยกดอกจะมีการเพิ่มด้ายเส้น พุ่งจำนวนสองเส้น
หรือมากกว่านั้นเข้าไปในผืนผ้า ลวดลายที่ทอจะเป็นลายที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต
สิ่งแวดล้อม และความเชื่อทางศาสนา ซึ่งได้แก่ ลายปราสาท ลานธรรมาสน์ ลายสัตว์
ลายพืช ลายจากสิ่งของเครื่องใช้ และลายเรขาคณิต
คุณสมบัติผ้าไหมไทย
คุณสมบัติอันมีค่าของผ้าไหมไทย ที่มีชื่อขจรขจายไปสู่ทุกภูมิภาคของโลก
(จากการมอง) มีสองลักษณะคือ
1.
การมองในลักษณะภายนอก คือผ้าไหมไทยนั้น เมื่อมองแล้วจะมีความงามเป็นประกาย
มีความตรึงใจ และทำให้หลงใหลในสีสันอันงดงาม
และดูภูมิฐานเมื่อใครได้สวมใส่ผ้าไหมไทย จะแสดงถึงความมีรสนิยมสูง
2.
การมองในลักษณะของการได้สวมใส่หรือสัมผัส เมื่อได้สวมใส่ผ้าไหมแล้วทำให้เกิดความสุขและความภูมิใจ
คุณสมบัติที่เบาตัวของผ้าไหม ทำให้มีความรู้สึกสบาย
ผ้าไหมไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นราชินีของเส้นใยทั้งหมดที่มีอยู่ในโลกปัจจุบัน
ผ้าไหมหรือผลิตภัณฑ์จากไหมนั้นบอบบาง
จึงต้องปฏิบัติรักษาอย่างพิถีพิถันอย่างน้อยทุกคนก็ทราบดีอยู่แล้วว่า
คุณสมบัติต่าง ๆ ที่จะต้องปฏิบัติรักษา เคลื่อนย้ายอย่างระมัดระวัง ความสุข
ความเบาสบาย ความภูมิใจ จะไม่เกิดขึ้นเลย
ถ้าเราจะไม่ทำการรักษาคุณภาพอันดีเลิศของผลิตภัณฑ์
จากไหมทุกชนิดให้อยู่ในสภาพที่น่าหยิบ น่าเป็นเจ้าของและน่าสวมใส่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น