วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 1 บทนำ

บทที่  1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญ
ในปัจจุบันวัฒนธรรมไทยเริ่มหดหายค่านิยมต่างๆเริมเข้ามาเกี่ยวข้องมีเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทเฉพาะการแต่งายด้วยเสื้อผ้าที่แตกต่างกันจึงทำให้การแต่งกายในสมัยนี้ไม่เหมือนการแต่งกายในสมัยก่อน มีการแต่งกายที่ทันสมัย  หรูหรา  และมีมากยิ่งขึ้นด้วยบทความข้างต้นจึงทำให้ผู้จัดทำโครงงานเล่มนี้ได้คิดจะทำโครงงานเล่มนี้ขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความรู้  เพื่อให้ผู้คนในสังคมได้นำความรู้เกี่ยวกับผ้าไหมมาพัฒนาเพื่อให้มีรายได้เสริม  ซึ่งโครงงาเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเพณี   วัฒนธรรม  ผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้ขึ้นมาเนื่องจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจและความฉลาดของบรรพบุรุษในอดีตแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่คนในสมัยก่อนนั้นได้สร้างไว้ได้  ดังนั้นผู้จัดทำจึงอยากจะนำวัฒนธรรมไทยเกี่ยวกับผ้าไหมไทยนั้นมาศึกษาค้นคว้าเพื่อการอนุรักษ์
เป้าหมาย
ต้องการให้ผู้คนรู้ว่าผ้าไหมไทยมีวิวัฒนาการและมีความเป็นมาอย่างไร
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้คนในสังคมหันมาอนุรักษ์ผ้าไหมไทย
2.เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทย
3.เพื่อให้ผู้คนในรุ่นหลังได้ศึกษาต่อ
4.เพื่อสืบค้นประวัติของผ้าไหมมากยิ่งขึ้น
5.ให้คนรุ่นหลังอนุรักษ์ผ้าไหม
             6.เพื่อให้ผู้คนได้ศึกษาเกี่ยวกับผ้าไหม
7.เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย
8.เพื่อรักษาลวดลายของผ้าไหม
9.เพื่อนำภูมิปัญญาของท้องถิ่นการทอผ้าไหมมานำเสนอวิธีดำเนินการขั้นตอนและประโยชน์จากการทอผ้าไหมยังเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และยังสร้างรายได้ให้กับครอบครัว
หลักการและทฤษฎีบท
เพื่อให้ผู้ที่ต้องการศึกษาโครงงานเล่มนี้ได้นำความรู้ไปปฏิบัติใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
-เพื่อสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ
                -เพื่ออุรักษ์ลวดลายผ้าไหมมัดหมี่
                -เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ
-เพื่อให้เยาวชนได้รู้จักการทอผ้าไหมมากขึ้น
-เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์การทอผ้าไหม
-คงจะเป็นรายได้เสริมให้คนในชุมชนได้ให้ผู้คนได้ศึกษาค้นคว้า
จุดเด่นของการทอผ้าไหม
1.)ทอผ้าเป็นลวดลายต่างๆ
2.)ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
3.)เป็นอาชีพที่สุจริตและเพิ่มรายได้

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

บทที่   2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ประวัติของผ้าไหม
ผ้าไหมมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและประเทศอินเดีย การทอผ้าไหมมีขึ้นราว 2,640 ปี ก่อนคริสตกาล พ่อค้าชาวจีนได้เผยแพร่ผ้าไหมสู่พื้นที่อื่นในแถบเอเชีย สำหรับประเทศไทยนักโบราณคดีพบหลักฐานที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงซึ่งบ่งชี้ว่ามีการใช้ผ้าไหมเมื่อ 3,000 ปีก่อน การทอผ้าไหมในประเทศไทยในอดีตมีการทำกันในครัวเรือนเพื่อใช้เอง หรือทำขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธี เช่น งานบุญ งานแต่งงาน ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ส่งเสริมให้ใช้ผ้าไหม ส่วนการปลูกหม่อนเพื่อเลี้ยงไหมได้รับการสนับสนุนจากประเทศญี่ปุ่น แต่การดำเนินงานของโครงการก็ทำได้เพียงระยะหนึ่งมีอันต้องหยุดไป เนื่องจากเกษตรกรไทยยังคงทำในลักษณะแบบเดิมเพราะความเคยชิน ไม่ตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่แบบใหม่ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากความช่วยเหลือของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของผ้าไหมไทยขึ้น โดย เจมส์ แฮร์ริสัน วิสสัน ทอมป์สัน ชาวสหรัฐอเมริกาหรือที่คนไทยรู้จักในนามว่า จิม ทอมป์สัน ซึ่งเป็นผู้ที่ให้ความสนใจผลงานด้านศิลปะ ในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย รวมทั้งลาว และเขมร จิม ทอมป์สัน ได้ซื้อผ้าไหมไทยลวดลายต่างๆ เก็บสะสมไว้ และทำการศึกษาลวดลายผ้าไหมในหมู่บ้านที่เป็นแหล่งการผลิตผ้าไหม พร้อมกับเสาะแสวงหาช่างทอผ้าไหมฝีมือดี ในที่สุดได้พบช่างมีฝีมือถูกใจที่กรุงเทพมหานคร บริเวณชุมชนบ้านครัว (หลังโรงแรมเอเชีย เขตราชเทวีในปัจจุบัน)ชุมชนแห่งนี้เดิมเป็นชาวมุสลิมเชื้อสายเขมร อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ตั้งแต่ตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีความชำนาญในการทอผ้าไหม ซึ่ง จิม ทอมป์สัน ได้เข้ามาสนับสนุนให้ชาวบ้านในชุมชนทอผ้าไหม สามารถสร้างรายให้ชาวบ้านมากขึ้น หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงผ้าไหมไทยโดยใช้หลักการตลาด การผลิต เพื่อขยายตลาด และทำการบุกเบิกผ้าไหมของไทยไปสู่ตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และแพร่เข้าสู่วงการภาพยนตร์ของชาติตะวันตก และ ละครบรอดเวย์ในปี พ.ศ. 2502 นักออกแบบชาวฝรั่งเศสได้ใช้ผ้าไหมไทยทำการออกแบบและตัดเย็บฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ครั้งเสด็จเยือนประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ ถือได้ว่าเป็นการเปิดโอกาสผ้าไหมของไทยสู่ตลาดต่างประเทศ

ผ้าไหมไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมการแต่งกายที่สืบสานกันมากว่า 3,000 ปีมาแล้วโดยมีแหล่งสำคัญอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และได้ขยายไปยังภาคเหนือตอนบน จนปัจจุบันได้แพร่กระจายไปทุกภูมิภาคของประเทศซึ่งมีความแตกต่างกันในลวดลายตามเชิงความคิดและวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงฟื้นฟูไหมไทย วัสดุธรรมชาติที่ทรงคุณค่าทางเศรษฐกิจ คงไม่มีสิ่งใดเทียบเท่าเส้นใยไหมที่ทำให้ได้สิ่งทอที่สวยงาม ดังเช่นผ้าไหมไทยที่มีความงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนมีชื่อเสียงลือไปทั่วโลก การผลิตไหมในประเทศไทยได้เริ่มพัฒนาขึ้น เมื่อรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นยุคแห่งการฟื้นฟูส่งเสริมและพัฒนาการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม สาวไหม และทอผ้าไหม จนปัจจุบันการผลิตไหมในประเทศไทยเป็นการสร้างอาชีพ และรายได้ให้กับประชากร
                 การเลี้ยงไหมและทอผ้าในภาคอีสาน จากสารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตฯ กล่าวว่า สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2360 ปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ขุนนางชาวเวียงจันทน์ชื่อนายแลเป็นหัวหน้านำชาวลาวข้ามโขงมาตั้งหลักแหล่งที่บ้านเนินอ้อม (เมืองชัยภูมิ) นายแลและพวกมี ความชำนาญในการเลี้ยงไหม สาวไหม และทอผ้าไหม ต่อมาได้เอาใจออกห่างจากนครเวียงจันทน์และหันมาสวามิภักดิ์ต่อไทยในสมัยพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) นายแลได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองชัยภูมิแต่ได้ถึงแก่กรรมก่อนจะสร้างเมืองเสร็จ ชาวเมืองจึงปลูก ศาลขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นายแลผู้บุกเบิกสิ่งทอไทย ศาลนี้มีชื่อว่า "ศาลเจ้าพ่อพระยาแลจึงเป็นที่เข้าใจว่าการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้า ไหมได้แพร่หลายไปทั่วภาคอีสานของไทย ตั้งแต่นั้นมา  
 ในสภาพสังคมเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม หน้าที่ของสตรีชาวอีสานแสดงให้เห็นวิถีชีวิตและโลกทัศน์ของหญิงกล่าวคือ ผู้หญิงต้องเรียนรู้ และฝึกหัดการทอผ้ามาตั้งแต่เด็ก พัฒนาฝีมือความสามารถในวัยสาว เพื่อ เตรียมพร้อมสำหรับพิธีแต่งงานตามค่านิยมของคนอีสาน จนวัยผู้ใหญ่มีครอบ ครัว และวัยชราก็กลายมาเป็นผู้ถ่ายทอดทักษะฝีมือ รวมทั้งการอบรมสั่งสอน การทอผ้าให้กับลูกหลาน ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมนั้นมีมา ตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 2 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2444 ในสมัยรัชกาลที่ 5 จึง มีแนวคิดที่จะส่งเสริมการเลี้ยงไหมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทอผ้าไหม ส่งเป็นสินค้าออก และอาจกล่าวได้ว่า งานพัฒนาการเกษตรอย่างมีวิชาการเริ่ม ต้นด้วย กรมช่างไหม ซึ่งตั้งขึ้นในกระทรวงเกษตรราธิการ 
สำหรับประวัติผ้าไหมที่มีหลักฐาน และมีการค้นพบที่เก่าแก่ที่สุด คือ พบที่ประเทศจีน ประมาณ 4,700 กว่าปีที่แล้ว โดยมีหลักฐานที่สามารถอ้างถึงได้ อาทิ หนังสือจีนโบราณชื่อ ไคเภ็ก ที่กล่าวถึงพระนางง่วนฮุย พระมเหสีของพระเจ้าอึ้งตี่ ที่เป็นผู้ริเริ่มการทอผ้าไหมจากหนอนไหมที่พระองค์สังเกตเห็นโดยบังเอิญ และได้เผยแพร่ไปสู่เขตต่างๆ รวมไปถึงอาณาจักรใกล้เคียง
สำหรับประเทศไทย พบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการทอผ้าไหมที่เก่าแก่ที่สุดประมาณ 3,000 กว่าปีที่แล้ว โดยพบเศษผ้าไหมของวัฒนธรรมบ้านเชียง ณ บ้านนาดี อำเภอหนองหาญ จังหวัดอุดร และบริเวณพื้นที่อื่นๆในภาคอีสานซึ่งจากการสันนิษฐาน พบว่า มีการเลี้ยง และการทอผ้าไหมเป็นเครื่องนุ่งหุ่มกระจายทั่วไปในแถบภาคอีสาน และสายพันธุ์ไหมที่ใช้เป็นสายพันธุ์พื้นเมืองที่มีการฟักตัวได้ตลอดทั้งปี มีลักษณะรูปร่างเรียวเล็กสีเหลือง ในส่วนภาคอื่นๆ ของประเทศมีหลักฐานตรวจพบถึงการทอผ้าไหมเป็นเครื่องนุ่งห่มปรากฏตามจารึกของพงศาวดารต่างๆ จนถึงสมัยอยุธยา กรุงธนบุรี ถึงรัชสมัยปัจจุบัน
ในสมัยราชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ 2411-2453) ถือเป็นยุคแรกของการส่งเสริมปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และการทอผ้าไหมของไทยซึ่งถือได้ว่าเป็นอาชีพรองจากการทำนาเลยทีเดียว บริเวณพื้นที่อีสานถือเป็นพื้นที่ที่มีการเลี้ยงหม่อนไหม และทอผ้าไหมมากที่สุด โดยสมัยนั้นเทคโนโลยีเกี่ยวกับผ้าไหมยังไม่เจริญก้าวหน้า ชาวบ้านยังทำได้เป็นเส้นไหมหยาบใช้เป็นเส้นพุงได้อย่างเดียว ส่วนไหมเส้นยืนต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ และต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงก่อตั้งกรมช่างไหม และโรงเรียนสอนเกี่ยวกับการปลูก และการทอผ้าไหมโดยเฉพาะร่วมกับผู้เชี่ยวชาญประเทศญี่ปุ่น จนทำให้เกิดการพัฒนาวิทยาการการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และเทคโนโลยีการทอผ้าไหมมากยิ่งขึ้น อาทิ การใช้เครื่องทอผ้าไหมแทนมือ เป็นต้น แต่หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสิ้นพระชนลง การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และการทอผ้าไหมก็ซบเซาลงจนกระทั่ง พ.ศ. 2479 จึงมีการกลับมาส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอีกครั้ง โดยมีการจัดตั้งหน่วยงานส่งเสริม และพัฒนาตามจังหวัดหลักๆที่มีทอผ้าไหมกันมาก ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น จังหวัดหนองคาย เป็นต้น พร้อมกันกับ พ.ศ. 2491 มีนักลงทุนชาวอเมริกัน จิม ทอมสัน จัดตั้งบริษัท จิมทอมสันไหมไทย จำกัด ทำให้การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และการทอผ้าไหมของไทยพัฒนามาเป็นแบบอุตสาหกรรม และธุรกิจมากขึ้น โดยการส่งจำหน่ายที่ประเทศอเมริกา และประเทศอื่นๆ จนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน
ลักษณะผ้าไหม
ผ้าไหมไทยมีรูปแบบการทอและลวดลายที่แตกต่างกันตามวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในแต่ละท้องถิ่น ผ้าไหมที่เป็นที่รู้จักและนิ่มใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่
ผ้าไหมพื้น เป็นผ้าไหมที่ทอลายขัดโดยใช่เส้นยืนและเส้นพุ่งธรรมดาสีเดียวตลอดทั้งผืน หรืออาจใช้เส้นยืนและเส้นพุ่งต่างสีกัน ซึ่งทำให้ได้สีที่งดงามอีกแบบหนึ่ง
ผ้าไหมจก เป็นการทอผ้าที่เพิ่มลวดลายโดยเพิ่มเส้นพุ่งพิเศษเข้าไปเป็นช่วงๆ สลับสีสันลวดลายต่างๆ กันลักษณะผ้าจะมีสีสันและลวดลายคล้ายกับการปักลางลงบนผืนผ้า
ผ้าไหมมัดหมี่ เป็นผ้าไหมที่ทำให้เกิดลวดลายด้วยวิธีการมัดเส้นไหมให้เป็นลวดลายที่เส้นพุ่งหรือเส้นยืน หรือทั้งสองเส้น แล้วนำไปย้อมสีทีละชั้นตอนตามลวดลายที่มัดไว้เพื่อให้ได้สีและลวดลายตามความต้องการ แล้วจึงนำเส้นไหมที่มัดมาทอให้ผืนผ้าเกิดลวดลายตามที่มัดไว้ แหล่งผลิตส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสาน เช่น ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และร้อยเอ็ด
ผ้าไหมขิด เป็นผ้าไหมแบบทอยกลายในตัวเรียกว่า "เก็บขิด" เป็นการยกเส้นยืนแต่ละแถว ให้เส้นพุ่งพิเศษสอดผ่านจากริมผ้าด้านหนึ่งไปสู่ริมผ้าอีกด้านหนึ่งเกิดเป็นลวดลายขิด ผ้าทอลายขิด สังเกตดูจากลายซ้ำของเส้นพุ่งที่ขึ้นเป็นแนวสีเดียวกันตลอด เป็นที่นิยมทอทั่วไปในภาคอีสานบางจังหวัด ในภาคกลางและภาคเหนือ
ผ้าไหมแพรวา เป็นผ้าทอที่มีลักษณะลวดลายผสมกันระหว่างขิดและจกบนผืนผาเดียวกัน คำว่า"แพรวา" มาจากความยาวของผ้าที่ยาวประมาณ 1 วา (2เมตร) แต่ดั้งเดิมเป็นผ้าที่ใช้ในงานพิธีต่างๆ ตามวัฒนธรรมของชาวภูไท โดยเอกลักษณ์ดั้งเดิมจะมีสีแดงเป็นพื้น ซึ่งต่อมาได้มีการดัดแปลงลักษณะของผืนผ้าและการใช้สีสันเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นตามสมัยนิยม แหล่งผลิตใหญ่และมีชื่อเสียงอยู่ที่จังหวัดกาฬสินธุ์
ผ้าไหมยกดอก เป็นผ้าทอที่ยกเส้นยืนเพื่อสอดเส้นพุ่งที่เป็นไหมสีอื่น เพื่อทำให้เกิดลวดลายขึ้นหรืออาจใช้ดิ้นเงินดิ้นทองก็ได้ บางแห่งหรือบางครั้งอาจเรียกว่าผ้ายกเท่านั้นการทอผ้าไหมยกดอกนิยมทอกัรมากในภาคเหนือ ที่จังหวัดลำพูน เชียงใหม่ แพร่ อุตรดิตถ์ และที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ผ้ายกดอกลำพูน ในภาคอีสาน ที่จังหวัดสุรินทร์ และภาคใต้ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คุณลักษณะพิเศษของผ้าไทย
เอกลักษณ์ของชาติไทย จะถูกถ่ายทอดให้ปรากฏเป็นลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายไทย ดอกไม้รูปทรงเรขาคณิต รูปสัตว์ สัญลักษณ์ประจำท้องถิ่น เป็นต้น ลงบนผืนผ้า โดยฝีมือและภูมิปัญญาของชาวบ้าน ลวดลายดังกล่าวละเอียดอ่อน สวยงาม อ่อนช้อย ผู้สวมใส่รู้สึกสบาย สง่างาม มีเสน่ห์ ปัจจัยสำคัญอีกข้อหนึ่งที่ทำให้ผ้าไทยได้รับความนิยมคือ คุณสมบัติพิเศษเฉพาะของเส้นใยแต่ละชนิดที่ใช้ทอผ้าดังต่อไปนี้
ผ้าไหม ทำจากเส้นใยธรรมชาติที่ได้จากสัตว์จำพวกหนอนไหมโดยคายเส้นใยออกมาทางปากมีความยาวต่อเนื่อง เมื่อนำมาทอเป็นผืนผ้าทำให้อ่อนนุ่ม เป็นมัน เหนียว ยืดหยุ่นตัวดี ดูดซับความชื้น ย้อมสีง่ายและสวมใส่สบายเนื่องจากมีความชื้นในตัวเอง (Moisture Regain) สูงประมาณร้อยละ 11 แต่มีข้อจำกัดคือเส้นใยไหมเสื่อมคุณภาพง่าย เมื่อถูกความร้อนสูงจากเตารีด แสงแดด แมลงชอบกัดกินเส้นไหมเพราะเป็นเส้นใยโปรตีน สีที่ย้อมจะเสื่อมคุณภาพเมื่อถูกความชื้นมากเกินไป ดังนั้นควรเก็บรักษาไว้ในที่แห้ง
ผ้าฝ้าย ทำจากเส้นใยธรรมชาติที่ได้จากดอกของต้นฝ้าย เมื่อนำมาทอผ้าจะดูดซับความชื้นได้ดี ย้อมสีและพิมพ์ลวดลายง่าย สวมใส่สบายมีความชื้นประมาณร้อยละ 11 ระบายความร้อนได้ดี ผ้าฝ้ายที่ผ่านการตกแต่งด้วยเทคนิควิธีการผ่านไอน้ำหรือให้ความร้อน และใช้สารเคมีทำให้ผิวสัมผัส ราบเรียบ เป็นมัน คงทนต่อการเสียดสี ทนยับ แต่ถ้าไม่ได้ผ่านการตกแต่งส่งผลให้การยืดหยุ่นตัวน้อยลง ยับง่าย ความแข็งแรงหรือความเหนียวต่ำ ไม่ทนเชื้อราและแสงแดด ข้อจำกัดของผ้าฝ้ายจะเสื่อมคุณภาพง่าย เมื่อถูกความร้อนสูงจากเตารีด หรือแสงแดด ทำให้สีที่ย้อมจางลง ควรเก็บรักษาในที่แห้งไม่ควรให้มีความชื้นซึ่งอาจทำให้เกิดเชื้อราบนผืนผ้า
ผ้าลินิน (Linen) ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้เป็นผ้าที่ทำจากลำต้นแฟลกซ์ (Flax) ดังนั้นจึงมีชื่อเรียกแตกต่าง
กันไปอยู่ในรูปของเส้นใยมักเรียกว่าใยแฟลกซ์ เส้นด้ายเรียกว่า ด้ายแฟลกซ์ ส่วนผ้าต้องเรียกว่าลินินจึงจะถูกต้อง คุณลักษณะพิเศษของผ้าชนิดนี้ทำให้สวมใส่สบายเนื่องจากมีความชื้นสูงประมาณร้อยละ 11-12 เหนียว ระบายความร้อนได้ดี ย้อมสีติดง่าย แต่มีข้อจำกัดคือยับง่าย ความยืดหยุ่นตัวน้อย เส้นใยแข็งกระด้าง
ผ้าไหมเทียม ส่วนใหญ่ทำจากเส้นใยคิวปราโมเนียมเรยอน (Cuprammonium Rayon) ถูกจัดให้อยู่ในประเภทเส้นใยกึ่งสังเคราะห์รีเจนเนอเรตเตดเซลลูโลส (Regenerated Cellulose) มีคุณสมบัติคล้ายเส้นใยไหมมากที่สุด จังมักเรียกกันว่าไหมเทียม ความเหนียวสูงมากเมื่อเส้นใยแห้งสนิท และความเหนียวจะลดลงเมื่อเปียกน้ำ ดูดซับความชื้นได้ดี เงางาม ย้อมสีและทำลวดลายได้ง่ายความชื้นในตัวสูงถึงร้อยละ 13 สวมใส่สบาย ยืดหยุ่นตัวดี ทนด่าง แต่มีข้อจำกัดคือเมื่อถูกรังสีความร้อนจากแสงแดดหรือเตารีดความเหนียวจะลดลง เกิดเชื้อราง่ายเมื่อเปียกน้ำ ควรเก็บรักษาในที่แห้ง

ผ้าใยผสม การนำเส้นใยผสมมาทอผ้าไทย เกิดขึ้นจากแนวคิดที่ว่าเส้นใยที่มีอยู่ในธรรมชาตินับวันจะเหลือน้อยลง จำเป็นต้องนำเส้นใยสังเคราะห์มาใช้ทดแทนและที่สำคัญที่สุดคือไม่มีเส้นใยชนิดใดมีคุณสมบัติทุกประการดีเลิศ แต่ละชนิดย่อมมีจุดเด่นและด้อยในตัวเอง การนำมาผสมกันเพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้ดีขึ้นโดยทั่วไปมักใช้เส้นใยผสมพอลิเอสเตอร์ (Polyester) กับฝ้าย (Cotton) มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่าผ้า P/C พอลิเอสเตอร์กับ เรยอน (Rayon) เรียกว่าผ้า P/R และ เรยอนกับฝ้ายเรียกว่า ผ้า R/C เป็นต้น ผ้าผสมเหล่านี้ช่วยให้ผู้สวมใส่สบาย แข็งแรง ทนยับ คงรูป ดูดซับและคายความชื้นได้ดี ย้อมสีหรือพิมพ์ลวดลายได้ง่าย ยืดหยุ่นตัวดี เส้นใยพอลิเอสเตอร์มีความชื้นร้อยละ 0.5
การทอผ้าพื้น      เป็นการใช้หลักการทอผ้าเบื้องต้น ที่นำเอาด้ายเส้นยืนและด้ายเส้นพุ่งมาขัดกัน เพื่อให้เกิดเป็นผืนผ้า โดยด้ายเส้น พุ่งและเส้นยืนอาจเป็นด้ายสีเดียวกัน หรือต่างสีกัน หรือนำเอาเส้นด้ายที่เป็นดิ้นเงินหรือดิ้นทองมาทอควบด้าย เพื่อให้ผ้า มีความมันระยับ สวยงามยิ่งขึ้น
เทคนิคพิเศษที่ใช้ในการทอผ้า
การขิด      ขิด หมายถึง กรรมวิธีในการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ ขึ้นมา โดยวิธีการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษในระหว่างการ ทอ เพื่อให้เกิดลวดลายที่โดดเด่นกว่าสีพื้น วิธีการทำคือ ใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิด เพื่อช้อนเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่ง ไปตามแนวที่ถูกจัดช้อน จังหวะการสอดเส้นด้ายพุ่งนี่เอง ที่ทำให้เกิดเป็นลวดลายต่าง ๆ
การจก     เป็นเทคนิคการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ โดยเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษสอดขึ้นลง วิธีการคือ ใช้ขนเม่น ไม้ หรือนิ้ว สอดเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่งพิเศษเข้าไป ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นลวดลายเป็นช่วง ๆ สามารถทำสลับสีลวดลายได้หลากสี ซึ่งจะแตกต่างจากการขิดตรงที่ขิดที่เป็นการใช้เส้นด้ายพุ่งพิเศษเพียงสีเดียว การทอผ้าวิธีจกใช้เวลานานมากมักทำ เป็นผืนผ้าหน้าแคบใช้ต่อกับตัวซิ่น เรียกว่า ซิ่นตีนจก
การทอมัดหมี่      ผ้ามัดหมี่มีกรรมวิธีการทอผ้าที่ใช้เทคนิคการมัดและการย้อม เริ่มจากนำเส้นด้ายหรือไหมมาย้อมสีแล้วมัดบริเวณที่ ต้องการเก็บไว้ เมื่อนำไปย้อมสีอื่นจะได้ไม่ติดสี เพียงซึมเข้ามาบางส่วน โดยย้อมเรียงลำดับจากสีอ่อนไปหาสีเข้มจนครบ ตามลวดลายที่กำหนด หลังจากนั้นจึงนำด้ายกรอเข้าหลอดตามลำดับ แล้วนำไปทอจะเกิดลวดลายบนผืนผ้าที่มีลักษณะคลาดเคลื่อนเหลื่อมล้ำ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
ของมัดหมี่ การทอผ้าชนิดนี้จึงต้องอาศัยความชำนาญในการมัดย้อมและทอเป็นอย่างมาก ผ้ามัดหมี่มีอยู่หลายชนิด ได้แก่
1. มัดหมี่เส้นพุ่ง
2. มัดหมี่เส้นยืน
3. มัดหมี่เส้นพุ่งและเส้นยืน
การทอผ้ายก      เป็นกรรมวิธีการทอให้เกิดลวดลายโดยการยกตะกอแยกด้ายเส้นยืน และในบางครั้งการยกดอกจะมีการเพิ่มด้ายเส้น พุ่งจำนวนสองเส้น หรือมากกว่านั้นเข้าไปในผืนผ้า ลวดลายที่ทอจะเป็นลายที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม และความเชื่อทางศาสนา ซึ่งได้แก่ ลายปราสาท ลานธรรมาสน์ ลายสัตว์ ลายพืช ลายจากสิ่งของเครื่องใช้ และลายเรขาคณิต
คุณสมบัติผ้าไหมไทย
คุณสมบัติอันมีค่าของผ้าไหมไทย ที่มีชื่อขจรขจายไปสู่ทุกภูมิภาคของโลก (จากการมอง) มีสองลักษณะคือ
           1. การมองในลักษณะภายนอก คือผ้าไหมไทยนั้น เมื่อมองแล้วจะมีความงามเป็นประกาย มีความตรึงใจ และทำให้หลงใหลในสีสันอันงดงาม และดูภูมิฐานเมื่อใครได้สวมใส่ผ้าไหมไทย จะแสดงถึงความมีรสนิยมสูง
            2. การมองในลักษณะของการได้สวมใส่หรือสัมผัส เมื่อได้สวมใส่ผ้าไหมแล้วทำให้เกิดความสุขและความภูมิใจ คุณสมบัติที่เบาตัวของผ้าไหม ทำให้มีความรู้สึกสบาย

                 ผ้าไหมไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นราชินีของเส้นใยทั้งหมดที่มีอยู่ในโลกปัจจุบัน ผ้าไหมหรือผลิตภัณฑ์จากไหมนั้นบอบบาง จึงต้องปฏิบัติรักษาอย่างพิถีพิถันอย่างน้อยทุกคนก็ทราบดีอยู่แล้วว่า คุณสมบัติต่าง ๆ ที่จะต้องปฏิบัติรักษา เคลื่อนย้ายอย่างระมัดระวัง ความสุข ความเบาสบาย ความภูมิใจ จะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าเราจะไม่ทำการรักษาคุณภาพอันดีเลิศของผลิตภัณฑ์ จากไหมทุกชนิดให้อยู่ในสภาพที่น่าหยิบ น่าเป็นเจ้าของและน่าสวมใส่

บทที่ 3 วิธีดำเนินงาน

บทที่   3
วิธีดำเนินงาน
วิธีดำเนินการ
1.คิดหัวข้อ
2.ศึกษาค้นคว้า
3.ทำโครงร่าง
4.ปฏิบัติตามโครงร่าง
5.นำเสนองานและความคืบหน้าเป็นระยะๆ
6.ประเมินผลงาน
7.นำเสนอผ่านเว็บ
ตารางปฏิบัติงาน
วัน/เดือน/ปี
รายงานการ
                    1   ตุลาคม   56
คิดหัวข้อของโครงงาน
                    3   ตุลาคม   56
รวบรวมข้อมูล
                 15    ตุลาคม   56
เสนอโครงร่างฉบับย่อ
                 20    ตุลาคม   56
           รายงานความคืบหน้าเป็นระยะๆ
                    5   พฤศจิกายน   56
                       ลงมือปฏิบัติงาน
                   15  พฤศจิกายน   56
                     สร้างแบบนำเสนอ
                  31   พฤศจิกายน   56
นำเสนอแบบเว็บบล็อก


อุปกรณ์
กี่    มีขนาดใหญ่ประกอบไปด้วยโครงกี่ฟืม เขาหูกหรือตะกอ ไม้ม้วนผ้าและหลักม้วนผ้า ไม้สำหรับพาดนั่งเวลาคานเหยียบสำหรับดึงเส้นไหมและตะกอขึ้นลง ไม้แกนม้วนไหมเส้นยืน คานแขวน กระสวย หลอดด้ายพุ่ง ผังหรือสะดึงขึงผ้าให้ตึง มักจะวางใต้ถุนเรือน และฝังเสากับพื้นดินแบบถาวร โครงกี่ประกอบด้วยเสา 4 เสา คาน 9 คานบนมี 4 คาน คานล่างมี 1 คาน และคานกลาง 1 คาน มีราวหูกทั้ง 4 ด้าน มีทั้งด้านบนและด้านล่าง
คานแขวน     เป็นไม้ห้อยอยู่กับคานของกี่ ซึ่งคานของทั้งสองใช้แขวนเชือกที่ต่อมาจากเขาหรือตะกอ เพื่อให้ตึงอยู่ตลอดเวลา
ฟืมหรือหวี     คือเครื่องมือสำหรับทอผ้ามีฟันเป็นซี่ๆ คล้ายหวีใช้สำหรับสอดไหมหรือเพื่อจัดเส้นไหมให้อยู่ห่างกัน แล้วใช้กระทบไหมพุ่งที่สานตัดกันกับไหมยืนหรือไหมเครือเป็นผืนผ้า การทอผ้าเนื้อหนาหรือเนื้อบางขึ้นอยู่กับฟันหวี
ตะกอ    ใช้สำหรับแยก เส้นด้ายให้ขึ้นเพื่อเปิด ให้จังหวะของเส้นด้าย พุ่งสอดขัดกัน
ตะกอหลอก     ตะกอแผงหรือเขาใหญ่และเขายาว ใช้เป็นที่เก็บไม้ขิด เพื่อส่งลายให้ทอโดยไม่ต้องเก็บขิด เป็นลักษณะตะกอแนวตั้ง
ไม้ (ไม้กำพัน)     ใช้สำหรับม้วนผ้าที่ทอแล้วไว้อีกส่วน ไม้แกนม้วนผ้านี้จะเหลาเป็นเหลี่ยม จะได้ยึดผ้าที่ม้วนเก็บไว้ไม่ให้ลื่น
ไม้    คือไม้สอดแทนไม้ขิดเพื่อให้ตะกอเปิดกว้าง และสอดเส้นด้ายยืนพุ่งไปไม้ ขิด ใช้สำหรับคัด
กระสวยด้ายพุ่ง      คือเครื่องมือที่ใช้กรอด้ายสำหรับทอผ้า นิยมทำจากเถาวัลย์เครือไส้ตันที่มีตรงกลางกลวง หรือไม้อย่างอื่นเจาะรูตรงกลางเพื่อสอดไม้เล็กๆ ที่ทำเป็นแกนของหลอดด้าย เพื่อให้ด้ายหมุนไปตามแรงพุ่งของกระสวย

ไม้เหยียบหรือคานเหยียบ     คือไม้ไผ่ 2 อันที่ผูกเชื่อมโยงกับเขาผูกหรือตะกอ เพื่อใช้สำหรับเหยียบดึงเขาหูกทั้ง 2 อัน ให้เส้นไหมยืนขึ้นลงสลับกัน และเปิดช่องเพื่อพุ่งกระสวยไหมเข้าไปในร่องดังกล่าว เส้นไหมทั้ง 2 ชนิดจะสานขัดกันเป็นเนื้อผ้า
ไม้นั่งทอผ้า     คือไม้กระดานหนาพอสมควร และมีความยาวกว่ากี่เล็กน้อย ใช้เวลานั่งทอผ้า ไม้นี้จะใช้พาดระหว่างหลักกี่
ข้างหน้ากับหลักม้วนผ้า
บ่ากี่     คือ ไม้ที่รองรับส่วนปลาย 2 ด้านของไม้ม้วนผ้า มี 2 หลัก แต่ละหลักจะอยู่คนละข้างของหูก
กระสวย     ใช้บรรจุหลอดไหมพุ่งสอดไประหว่างช่องว่างของเส้นไหมยืน ต้นและปลายเรียวตรงกลางเจาะเป็นช่องสำหรับใส่หลอดด้าย
ผัง     เป็นไม้ที่ขึงไว้ตามความกว้างของผ้าที่ทอ เพื่อให้หน้าผ้าตึงพอดีกับฟืม และเพื่อทำให้ลายผ้าตรง ไม่คดไปคดมา
·          
·      อุปกรณ์ในการทอผ้าไหม
กง
 
อัก
ไน
หลอด
กระสวย
กรรไกร
หวี
กี่ทอผ้า
ไม้เหยียบทอผ้า

1. กง เป็นเครื่องมือสำหรับใส่ไหมที่เป็นปอย (ไน) แล้วนำไปกรอใส่ใน
2. อัก ใช้คู่กับกงจะรับเส้นไหมจากกงมาใส่ไว้ใน
3. หลาไน หรือเครื่องกรอหลอด
4. หลอดกรอไหม ใช้สำหรับใส่เส้นไหม
5. ฮัง (ที่เสียบหลอด) เป็นที่เก็บหลอดกรอไหม
6. ก้านสวย (กระสวย) ใช้คู่กับหลอด
7. กี่ทอผ้า หรือกี่กระตุก เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับทอผ้าให้เป็นผืนสำเร็จออกมา
8. ฟืม (ฟันหวี) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับแยกเส้นไหมยืนให้ออกจากกัน
9. ตะกอ ทำจากเส้นด้ายป่าน ที่มีความแข็งแรง เหนียวแน่น ทำหน้าที่ยกเส้นไหมให้ขึ้นลง
10. กรรไกร ใช้สำหรับตัดตกแต่งผ้าไหม
11. ผัง ใช้สำหรับตึงริมผ้าให้เสมอกัน มีลักษณะเป็นไม้ยาวเท่ากับความกว้างของผ้า
 วัตถุดิบและส่วนประกอบ
เส้นไหม
สีย้อมไหม

ด่างฟอก
สบู่เทียม
ฟางใช้มัดหมี่

เส้นไหม ได้จากตัวหม่อน การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม มีมาตั้งแต่โบราณนับเป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่งของคนโบราณที่สืบทอดกันมายาวนาน
        วัตถุดิบเส้นไหมทางพุ่ง ซื้อจาก บริษัทจุลไหมไทย จ.เพชรบูรณ์ เส้นไหมทางยืนไปซื้อที่อำเภอชนบทจังหวัดขอนแก่น สีย้อมไหม ด่างล้างผงมัน ด่างฟอกฟาง ซื้อจากอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น และส่วนของแรงงานทั้งหมดมาจากชุมชนพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และแบ่งงานกันทำโดยในส่วนของ การมัดย้อม การทอการตัดเย็บ และในส่วนของการตลาดรายได้จากการจำหน่ายก็จะจัดสรรตามระเบียบของกลุ่มต่อไป
 วัตถุดิบ
1. เส้นไหม                     2. น้ำยาล้างไหม                                3. สีย้อมไหม                       4. ด่างฟอก
5. สบู่เทียม                       6. ฟางใช้มัดหมี่